วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559

วัดพระธรรมกายที่ฉันรู้จัก

ดิฉันเข้าวัดครั้งแรกตอนปีพ.ศ.2538 ซึ่งเรียนอยู่ม.รามคำแหงปี 1ตอนมาวัดครั้งแรก รู้สึก แปลกใจกับทึ่งในความเป็นระเบียบของวัด ที่คนมาวัดเป็นหมื่น(ตอนนั้น) ต่างไม่วุ่นวายแต่เป็นระเบียบมาก ไม่มีการพูดคุยในระหว่างปฏิปฏิบัติธรรม ยิ่งมองก็ยิ่งแปลกใจว่าเจ้าอาวาส(หลวงพ่อธัมมชโย) ท่านฝึกคนเป็นเรือนหมื่นได้อย่างไร จากสาธุชนจนได้มาเป็นเจ้าหน้าที่ที่วัดพระธรรมกาย
จึงได้เข้าใจว่า หลวงพ่อธัมมชโย ท่านได้รับการฝึกมาจากคุณยายฯ
ผู้สร้างวัดพระธรรมกาย ซึ่งท่านมีมโนปณิธานที่จะสร้างวัดให้เป็นวัด สร้างพระให้เป็นพระ และสร้างคนให้เป็นดี คุณยายท่านจะสอนให้ทุกคนรักษาความสะอาด ให้ช่วยกันดูแล รักษา และเก็บอุปกรณ์ทุกอย่างที่ใช้แล้ว ล้าง ทำความสะอาดให้เรียบร้อย 1ในบุญนั้นที่ดิฉันปลื้มมาก คือบุญล้างห้องน้ำ ตอนนั้นก็ได้รับบุญนี้ตอนหลังพิธีกรรมเลิก คนที่มาวัดจะต้องช่วยกันเก็บเสื่อที่ใช้นั่งสมาธิ เช็ด เสื่อให้สะอาด
ทั้งยังมีบุญล้างห้องน้ำ ที่ต้องไปช่วยกันทำให้สะอาดด้วยการล้วงลงไปในโถส้วม ล้วงลึกขนาดนั้น(แรกๆก็กลัว) ทั้งข้างนอกข้างใน ยิ่งขัดยิ่งรู้สึกสนุก ได้เห็นห้องน้ำสะอาด ใจก็พองโต (วันไหนที่ขัดเคืองใจ  ไปลงมือขัดห้องน้ำ สบายใจอย่างบอกไม่ถูก)

ไม่ใช่ขัดแค่ห้องเดียวแต่เป็นสิบๆห้องที่สาธุชนทุกคนล้วนต่างมาช่วยกันทำ จนทำให้ ทุกคนที่มาวัดพระธรรมกาย รู้สึกเป็นเจ้าของบ้านเจ้าของวัด  ไม่ทิ้งภาระไว้กับเด็กวัดหรือเจ้าหน้าที่ นอกจากได้บุญจากการปฏิบัติธรรม การฟังธรรม ยังได้บุญจากการรักษาสมบัติพระศาสนาด้วยค่ะ  ทุกคนต่างก็ทำหน้าที่กัลยาณมิตร ชักชวนคนมาวัดทำความดีอย่างไม่หยุดหย่อน จึงไม่แปลกใจว่าทำไมทุกคนถึงรักวัดพระธรรมกาย เพราะวัดพระธรรมกาย สอนให้ละชั่ว ทำความดี และ ทำใจให้ผ่องใสด้วยการนั่งสมาธิ ทั้งยังสอนให้รู้จักบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม และประเทศชาติด้วย ใครอยู่ใกล้วัดไหนก็ไปวัดนั้น คือคำที่หลวงพ่อธัมมชโยกล่าวกับลูกๆทุกคน ให้ไปทำนุบำรุงวัดใกล้บ้าน ทำวัดร้างให้เป็นวัดรุ่ง วัดพระธรรมกายทำให้มีแต่ประเทศชาติมั่นคง และดำรงพระพุทธศาสนาให้อยู่คู่ประเทศไทยต่างหาก มิได้เป็นภัยอย่างที่เค้ามโนกันไปเรื่อยเปื่อย โดยที่คนเหล่านั้นไม่เคยมาวัดพระธรรมกายเลย